เสริมจมูกแบบปิด
การผ่าตัดศัลยกรรมเสริมจมูกแบบปิด หรือ แบบเอเชียดั้งเดิม
เทคนิคการผ่าตัดแบบนี้อาศัยหลักการ เติมเต็ม ส่วนที่ขาดหายไป ร่วมกับ การปรับรูปทรงจมูก ให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสม เป็นการผ่าตัดที่ง่ายกว่า ใช้เวลาฟื้นตัวน้อยกว่า แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถลด "ส่วนที่เกิน" (เช่น สันจมูกที่โด่งเกิน จนนูนเป็นหลังเต่า , ปลายจมูกที่หนาและใหญ่จนเกินไป ) ให้เล็กลงตามต้องการได้
- ซิลิโคน : เป็นวัสดุสังเคราะห์ ที่มีคุณสมบัติไม่ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อ เป็นวัสดุที่ใช้กันแพร่หลายในการเสริม จมูก การเสริมจมูกนั้นจะต้องใช้ซิลิโคนมาตรฐานสูง ที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย ในทางการแพทย์ที่ เรียกว่า Medical grade ไม่สามารถนำซิลิโคนที่เกรดต่ำ ดังที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆที่ เรียกว่า Industrial grade มาใช้ได้
- การขึ้นรูปของซิลิโคน : แบ่งเป็น 2 แบบย่อย คือ แบบสำเร็จรูป และ เหลาขึ้นรูปเองโดยแพทย์
- ซิลิโคนแบบสำเร็จรูป : เป็นที่นิยมแพร่หลายมาก ในการเสริมจมูกโดยแพทย์ทั่วไป ที่มิใช่แพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ศัลยกรรมตกแต่ง . ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ใช้ง่าย สะดวก ราคาไม่แพง ลดเวลาของการผ่าผ่าตัด หรือ แม้กระทั่งแพทย์ ที่ไม่มีความรู้ - ความเข้าใจ - ไม่มีประสบการณ์ ในการเหลาขึ้นรูปซิลิโคน เพื่อปรับทรงจมูกให้ สวยตามต้องการ จึงจำเป็นต้องใช้ ซิลิโคนแบบสำเร็จรูป ที่หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ซิลิโคนสำเร็จรูปนั้น มีข้อจำกัดอย่างมาก กล่าวคือ ทั้งทรงจมูก และความยาว ดั้งเดิม ของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน และ หลากหลาย ดังนนั้น การนำซิลิโคนสำเร็จรูปมาปรับใช้นั้น จึง ยากมาก ที่จะได้ทรงจมูกที่สวยงามตามต้องการ
- ซิลิโคนแบบเหลาขึ้นรูปเองโดยแพทย์ : เป็นที่นิยมมากเช่นกัน ในหมู่ศัลยแพทย์ตกแต่ง ที่มีความรู้ - ความเชี่ยวชาญ - และประสบการณ์ ในการเหลาขึ้นรูปซิลิโคนให้เหมาะสมกันแต่ละบุคคล เพื่อให้ได้รูปที่สวยงาม วิธีนี้มีข้อด้อยที่ ใช้เวลานานกว่าในการเหลาขึ้นรูป ต้องร่างแบบซิลิโคน ให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล จึงเป็นงานศิลปะฝีมือ (Hand made) แต่อย่างไรก็ตาม ผลที่ได้คุ้มค่ากว่า สวยงามกว่า
- เทคนิคการผ่าตัดแบบนี้อาศัย หลักการเติมเต็ม ส่วนที่ขาดหายไป และการปรับรูปทรงจมูกใหม่ให้สวยงามขึ้น จุดที่มีความเสี่ยงคือบริเวณปลายจมูก ยิ่งการผ่าตัดเพื่อปรับทรงจมูกให้สวยงาม โดยการฝืนเนื้อเยื่อ มากขึ้นเพียงใด ในระยะยาวก็ทำให้เนื้อเยื่อ ปลายจมูกมีโอกาสบางและทะลุได้ ดังนั้นในรายที่มีหนังและเนื้อ ปลายจมูกบาง การนำกระดูกอ่อนหลังหูและเนื้อเยื่อมาปลูกเสริมคลุมปลายซิลิโคน ก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัย (Margin of safety) และ สวยงามมากขึ้น
- เทคนิคการผ่าตัดแบบนี้อาศัย ซิลิโคนเป็นหลัก ในการปรับรูปทรงจมูก ให้สวยงาม ทั้งส่วนโคนและส่วน ปลายจมูก ดังนั้น สามารถทำการผ่าตัด โดยการซ่อนแผลผ่าตัดไว้ภายในจมูกทำให้ไม่มีแผลเป็นภายนอก ดังเช่น ในการผ่าตัดแบบเปิด (Open tip Rhinoplasty) ซึ่งมีแผลเป็นภายนอกให้เห็น ดังนั้นการผ่าตัดเทคนิคแบบนี้อาจมีชื่อเรียงตาม แผลเป็นที่ถูกซ่อนไว้ภายในว่า เสริมจมูกแบบปิด (Closed technique)
- จุดเด่นของการผ่าตัดแบบนี้ (Advantage)
- สามารถทาได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน
- สามารถทาผ่าตัดโดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ได้ ไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ
- ราคาย่อมเยากว่า
- เนื่องจากการผ่าตัดรบกวนเนื้อเยื่อน้อยกว่า จึงทำให้ระยะเวลาพักฟื้น สั้นกว่า บวมน้อยกว่า และ เข้ารูป เร็วกว่า
- มองไม่เห็นแผลเป็นจากการผ่าตัด เนื่องจากซ่อนไว้ในรูจมูก
- จุดด้อยของการผ่าตัดเทคนิคนี้ (Disadvantage)
- ยังคงมีความเสี่ยงที่ซิลิโคนจะทำให้เนื้อเยื่อบางและทะลุ ( เมื่อเทียบกับเทคนิกที่ สร้างโครงปลายจมูกด้วยกระดูกอ่อนทั้งหมด ) ความเสี่ยงมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการฝืนเนื้อเยื่อขณะทำผ่าตัด , ความหนาของผิวหนัง และเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง บริเวณจุดรับน้าหนักที่ปลายจมูกซึ่งเป็นเนื้อเยื่อดั้งเดิมของผู้รับการผ่าตัด ดังนั้นการนำ เนื้อเยื่อและนำกระดูกอ่อนหลังใบหูมาปลูกเพิ่ม เพื่อใช้ลดความเสี่ยงของ การบางและทะลุได้
- กรณีปลายจมูกมีขนาดใหญ่มาก เนื่องจากโดยเทคนิคคือการเติมเข้าไป ดังน้ัน จึงไม่สามารถปรับปลายจมูกให้ มีขนาดเล็กตามต้องการได้
- ไม่ได้เหมาะกับผู้รับการผ่าตัดทุกราย เพราะ ไม่สามารถแก้ทุกปัญหาของจมูกได้ ดังเช่น
- สันจมูกโด่งมากจนพอดีหรือเกินพอดี แต่ปลายจมูกงุ้มลง
- จมูกสั้น – เชิด ร่วมกับแกนจมูกโด่งพอดี หรือ โด่งเกินพอดี
- ผิวหนังและเนื้อเยื่อที่ปลายจมูกบางมาก มีความเสี่ยงต่อการทะลุ
- กระดูกอ่อนบริเวณปลายจมูกหนาแข็งแรงมาก ซึ่งมักพบร่วมกับเนื้อเยื่อปลายจมูกบาง ซึ่งอาจทำให้ เห็นรอยต่อ ระหว่างซิลิโคน และกระดูกอ่อน หรือ รอยต่อระหว่างเนื้อเยื่อส่วนที่มีกระดูกอ่อนอยู่ด้านใน และไม่มีกระดูกอ่อนอยุ่ด้านในได้
ในกรณีที่จมูกมีข้อจำกัดในการทำผ่าตัดแบบดั้งเดิม เทคนิกที่สร้างโครงปลายจมูกด้วยกระดูกอ่อนทั้งหมด โดยใช้วิธีเปิดแผลจมูกภายนอก (Open tip Rhinoplasty) สามารถทำการผ่าตัดแก้ไขให้สวยงามได้
Posted on 6 years ago
ดูรูปเพิ่มเติม